การเขียนประวัติศาสตร์ของโลกมลายู/ปาตานี นั้นมีมากมายหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นด้านประวัติศาสตร์ปาตานีกระแสหลัก ประวัติศาสตร์ความรุนแรง ประวัติศาสตร์ชาตินิยม ประวัติศาสตร์ขบวนการแบ่งแยกดินแดน ประวัติศาสตร์ปัญญาชนอุลามะ ประวัติศาสตร์การขยายอำนาจของรัฐไทย ฯลฯ เป็นต้น แต่การค้นคว้าด้านวิชาการที่เป็นประวัติศาสตร์สังคม-วัฒนธรรมของปาตานี ที่เกี่ยวกับสภาวะความทันสมัยนั้นยังมีการบันทึกอยู่น้อย ทั้งๆ ที่สภาวะความทันสมัยที่เข้ามาในดินแดนปาตานีนั้นมีมากมายหลายประการ
การก่อสร้างถนนสายสงขลา-ปาตานี ก็เป็นอีกสภาวะความทันสมัยหนึ่งที่เกิดขึ้นและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง แต่การศึกษาความเป็นมา และความเป็นไปของการสร้างถนนสายสงขลา-ปาตานี นั้นยังไม่มีการกล่าวถึงให้จดจำกันมากนั้น ว่าความทันสมัยดังกล่าวนั้นทำให้ประวัติศาสตร์-สังคมวัฒนธรรมของผู้คน เปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ ถนนสายสงขลา-ปาตานีนั้นก็มีมานานแล้ว แต่เมื่อมีการสร้างเป็นทางหลวงแผ่นดินขึ้นเป็นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 42 ตามพระราชบัญญัติทางหลวงแผ่นดิน พ.ศ.2535 ทำให้ถนนสายนี้นำความทันสมัยเข้ามายังดินแดนปาตานีได้อย่างมากมาย แต่ยังไม่มีการบันทึก จดจำ หรือเป็นที่กล่าวถึงกันมากนัก
เส้นทางสายสงขลา-ปาตานี สายเก่า เริ่มต้นสาย จากสามแยกคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา มุ่งหน้าไปยังเมืองนราธิวาส โดยผ่าน อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย ในจังหวัดสงขลา และเลี้ยวซ้ายเข้าจังหวัดปัตตานีที่อำเภอโคกโพธิ์ ผ่าน อำเภอหนองจิก อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอยะหริ่ง อำเภอมายอ อำเภอปานาเระ อำเภอสายบุรี และอำเภอไม้แก่น ก่อนจะมุ่งหน้าเข้าเขตจังหวัดสราธิวาสที่ อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ กระทั่งสุดทางที่เมืองนราธิวาสนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางแห่งความทันสมัย จากสงขลาเข้าสู่ดินแดนปาตานี จะเห็นได้ว่า เส้นทางดังกล่าวได้ผ่านประวัติศาสตร์ที่ชาวปาตานีคุ้นเคย ได้แก่ ศาสนสถาน สถานที่ท่องเที่ยว ศูนย์การค้าขาย ศูนย์ฝึกอาชีพ สถานศึกษา สถานที่ราชการที่สำคัญ ฯลฯ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การศึกษาเส้นทางสายสงขลา-ปาตานี ก็ยังไม่มีการกล่าวถึงให้มีการบันทึกหรือจดจำในด้านประวัติศาสตร์-สังคมวัฒนธรรม แต่อย่างใด
จากความเป็นมาและสภาพปัญหาในด้านประวัติศาสตร์ดังกล่าวมานี้ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาประวัติศาสตร์สังคม-วัฒนธรรมของเส้นทางสายสงขลา-ปาตานี และเห็นความสำคัญของการศึกษา เพื่อศึกษาถึงผลของการมีเส้นทางสายสงขลา-ปาตานี ที่มีต่อประชาชนที่มีวิถีชีวิตสัมพันธ์กับเส้นทางสายสงขลา-ปาตานี ในด้านประวัติศาสตร์-สังคมวัฒนธรรม และยังได้ค้นพบเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านทัศนคติ ความเป็นอยู่ ประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรม ที่เกี่ยวกับสภาวะความเป็นสมัยใหม่ สู่การบันทึกประวัติศาสตร์สังคม-วัฒนธรรมของปาตานี
No comments:
Post a Comment