มิติของประวัติศาสตร์สังคมเกี่ยวกับปาตานี กล่าวได้ว่ามีประเด็น และเรื่องราวมากมาย เห็นควรต่อการนำมาศึกษาอย่างยิ่งนัก เนื่องจากสภาพการณ์ทางสังคมปาตานีนั้น มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ตั้งแต่อดีตครั้งที่เคยเป็นประเทศราชของรัฐไทยมาก่อน จนกระทั่งปัจจุบันสังคมปาตานีถูกปกครองโดยรัฐไทย แต่เนื่องด้วยสภาพการณ์สังคมปาตานีได้ปะทุโดยแรงอัดของความรุนแรง และความขัดแย้ง จากเหตุการณ์ในช่วงปี 2547 เป็นต้นมา กลับให้ในวงนักวิชาการให้ความสนใจ และมุ่งเน้นถึงประเด็นดังกล่าวมากขึ้น ดังนั้นงานวงวิชาการส่วนใหญ่ เน้นไปในกระแสทางการเมืองเป็นหลัก ทำให้งานวิชาการถูกผลิตงานเกี่ยวกับสภาพการณ์ดังกล่าวขึ้นมาอย่างซ้ำๆ ฉะนั้นจึงไม่แปลกนัก ที่คนนอกพื้นที่จะมองดินแดนปาตานีในมุมมอง หรือทัศนคติเช่นนั้น จึงทำให้งานวิชาการสังคมปาตานีกลับกลายเป็นงานที่ถูกผลิตออกมาไปในทิศทางที่ดูเหมือนไม่มีประเด็นใหม่มากนัก โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สังคม มักจะไม่มีงานนักวิชาการพูดถึง น้อยมากที่จะหยิบยกประเด็นดังกล่าวมาศึกษาอย่างจริงจัง ทำให้มองข้ามความสำคัญ และการเคลื่อนไหวของสังคมปาตานีเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ และการปฏิสัมพันธ์ของผู้คนทางสังคมไปโดยปริยาย ซึ่งอาจจะมีประเด็นหลากหลายที่อาจจะนำไปสู่สภาวะความเป็นสมัยใหม่ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพื่อทำความเข้าใจ ความสำคัญบางอย่างที่ในสังคมพยายามตระหนักออกมา ให้กลายเป็นประเด็นที่สำคัญ และให้สังคมภายนอกได้รับรู้ว่าสังคมปาตานีไม่ได้ผลิตงานวิชาการที่หยุดอยู่นิ่งเฉยในประเด็นที่ได้กล่าวไป
การศึกษาสังคมปาตานีในมิติของประวัติศาสตร์สังคม โดยมุ่งศึกษาประเด็นเรื่อง การประดิษฐ์สร้างมรดกทางวัฒนธรรมมลายูของคนปาตานี ถ้ามองย้อนกลับไปในทางประวัติศาสตร์ปาตานี กระทั่งศาสนาอิสลามได้แพร่ขยายออกไปอ่างรวดเร็ว สัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ การตั้งถิ่นฐานของมุสลิม ว่าในช่วงหลังศาสนาอิสลามได้เข้ามานั้น ศาสนาอิสลามเริ่มมีอิทธิพลอย่างมากกับผู้คนในดินแดนปาตานี และในแถบโลกมลายู ปาตานีได้ถูกกลายเป็นเสมือนเบ้าหลอมทางวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และที่มา ไม่ว่าจะเป็นมลายู อินเดีย อาหรับ เปอร์เซีย และจีน เพราะแต่เดิมในอดีตปาตานียังมีภาพความทรงจำติดตาต่อชาวต่างชาตอย่างมาก เพราะปาตานีเป็นศูนยกลางทางการค้า และการปกครองของคาบสมุทรมลายู กระทั่งถึงปัจจุบันปาตานียังคงเป็นเมืองแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ปาตานีหรือชายแดนใต้เป็นดินแดนที่มีคนมลายูอาศัยกันมาก สิ่งที่สะท้อนให้เห็นสังคมมลายูในอดีต คือ การเกิดขึ้นของบรรดาผู้รู้ทางศาสนา นักปราชญ์ เป็นต้น แต่มิเพียงเฉพาะการเกิดขึ้นของบุคคลในทางประวัติศาสตร์ และสิ่งที่ตามมาคือการเกิดขึ้นของสถานที่ไว้สำหรับเป็นพื้นที่ในการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม เพื่อเป็นพื้นทั่วแทน หรือหน่วยงานหนึ่งของสังคมมลายูปาตานี ที่สามารถประจักษ์ต่อสายตาของคนในสังคมที่รายล้อมโดยวัฒนธรรมมลายูมีอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน นั่นคือ โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม หรือปอเนาะ มัสยิด หรือสุเหร่า เป็นต้น ดังนั้น จะเห็นว่าการเผยแพร่ศาสนาอิสลามนั่น เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กันการกำเนิดขึ้นของชุมชนมุสลิม ไม่ว่าพวกเขาจะเกิดหรืออาศัยอยู่ที่ใดก็ตาม สิ่งที่ปรากฏให้เห็น คือ การเกิดขึ้นของสุเหร่า หรือมัสยิดในอาณาบริเวณพื้นที่นั่นๆ เนื่องจากมัสยิดเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของความเป็นอิสลาม รวมทั้งยังถือเป็นหน่วยงานหนึ่งในการสร้างสังคมมลายู และยังมีบทบาทในการสร้างความเป็นเอกภาพและความเป็นปึกแผ่นของศาสนาอิสลาม
อย่างไรก็ตามมัสยิดจึงถูกให้ความสำคัญโดยสังคมปาตานีในอดีต จนกระทั่งปัจจุบันว่าเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแสดงตนด้วยการจงรักภักดีต่อศาสนาของคนในชุมชน ซึ่งสิ่งที่ถูกสร้างดังกล่าวย่อมมีบทบาท และสัมพันธ์กับคนในชุมชนสังคมปาตานีโดยมิอาจปฏิเสธได้ เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ระหว่างมัสยิดกับชุมชน อาทิ เช่น การทำพิธีกรรมทางศาสนา การพบปะสังสรรค์ การสอนศาสนา และการอ่านตำราคัมภีร์อัลกุรอ่าน เป็นต้น การศึกษาการประดิษฐ์สร้างมรดกทางวัฒนธรรมมลายูปาตานี ในมิติทางประวัติศาสตร์สังคมปาตานี ทำให้เราได้เห็นถึงวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมปาตานีปัจจุบันว่ามีการพยายามสร้างหรือขับเคลื่อนมัสยิดไปในทิศทางหรือบทบาทใดและเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างในชุมชน รวมทั้งกระบวนการคิดของคนในชุมชนที่มีต่อมัสยิดเป็นอย่างไร
กระนั้นก็ตามมัสยิดที่ถูกสร้างขึ้นในสังคมปาตานีตั้งแต่อดีต มีอยู่กระจัดกระจายไปทั่วทุกแห่งของดินแดนแห่งนี้ บางมัสยิดมีตำนานการเล่าขานต่างๆ นานาถึงวิธีการก่อสร้าง การให้อายุ ใครเป็นผู้บุกเบิก เป็นต้น ซึ่งผู้ศึกษามิสามารถที่จะยืนยันตามที่ผู้คนในสังคมปาตานีรับรู้สืบต่อๆกัน มาว่าจริงแท้อย่างไร เนื่องจากสภาพมัสยิดหลายแห่งที่สร้างด้วยไม้ก็พุพังไปตามกาลเวลา บางแห่งถูกบูรณะสร้างขึ้นใหม่โดยภาครัฐ และชุมชนในท้องถิ่น อย่างกรณีของมัสยิดตะโละมาเนาะ (มัสยิดวาดี ฮุสเซน) หรือมัสยิด 300 ปี ที่ปัจจุบันมีการกล่าวอ้างถึงความงดงามและความเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย จนขึ้นชื่อทะเบียนกลายเป็นมรดกของกรมศิลปากรไปโดยปริยาย
No comments:
Post a Comment